ดาวเคราะห์ในระบบสุริยะ
ดาวพุธ (Mercury)
ดาวพุธ
เป็นดาวเคราะห์ที่อยู่ใกล้ดวงอาทิตย์มากที่สุด ไม่มีดาวบริวาร
และเป็นดาวเคราะห์ที่เล็กที่สุดในระบบสุริยะ
และด้วยความที่มันเป็นดาวที่มีขนาดเล็ก (เส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 4,878
กิโลเมตร) จึงทำให้มันไม่สามารถสร้างสนามโน้มถ่วงที่มีพลังมากพอที่จะดึงดูดและกักเก็บ
บรรยากาศได้ ดาวพุธจึงมีแรงโน้มถ่วงน้อยมาก และไม่มีบรรยากาศ
ทำให้วัตถุอวกาศพุ่งชนได้ง่าย พื้นผิวดาวจึงขรุขระจากการพุ่งชนเหล่านั้น ทั้งนี้
ดาวพุธมักปรากฏใกล้ หรืออยู่ภายใต้แสงจ้าของดวงอาทิตย์ ทำให้สังเกตเห็นได้ยาก
แต่ก็พอมองเห็นได้ด้วยตาเปล่าในเวลาพลบค่ำ
ดาวศุกร์
(Venus)
ดาวศุกร์
เป็นดาวเคราะห์เพื่อนบ้านที่อยู่ใกล้โลกมากที่สุด ไม่มีดวงจันทร์เป็นดาวบริวาร
มีขนาดเล็กกว่าแต่ก็ใกล้เคียงกับโลกมาก จนได้ชื่อว่าเป็นฝาแฝดกับโลก
เราสามารถสังเกตเห็นดาวศุกร์ได้ด้วยตาเปล่า
โดยสามารถมองเห็นได้ทางขอบฟ้าด้านทิศตะวันตกในเวลาใกล้ค่ำ เราเรียกว่า ดาวประจำเมือง
(Evening Star) ส่วนช่วงเช้ามืดปรากฏให้เห็นทางขอบฟ้าด้านทิศตะวันออกเรียกว่า
ดาวรุ่ง (Morning Star) เรามักสังเกตเห็นดาวศุกร์มีแสงส่องสว่างมากเนื่องจาก
ดาวศุกร์มีชั้นบรรยากาศที่ประกอบไปด้วยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์
มีผลทำให้อุณหภูมิพื้นผิวสูงขึ้น
โลก (Earth)
โลก
เป็นดาวเคราะห์ดวงเดียวที่มีสิ่งมีชีวิตอาศัยอยู่ เนื่องจากมีชั้นบรรยากาศและมีระยะห่าง
จากดวงอาทิตย์ที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตและการดำรงชีวิตของสิ่งมีชีวิต
นักดาราศาสตร์อธิบายเกี่ยวกับการเกิดโลกว่า โลกเกิดจากการรวมตัวของกลุ่มก๊าซ
และมีการเคลื่อนที่สลับซับซ้อนมาก แต่มีพื้นผิวเป็นหินเช่นเดียวกับ
ดาวเคราะห์ชั้นในดวงอื่น ๆ ทั้งนี้ โลกมีดวงจันทร์เป็นบริวาร
โคจรอยู่รอบโลกเพียงดวงเดียว มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 3,476
กิโลเมตร หรือประมาณ 1 ใน 4 ของเส้นผ่าศูนย์กลางโลก
และโคจรอยู่ห่างจากโลกโดยเฉลี่ยประมาณ 384,400
กิโลเมตร และโคจรรอบโลกในระยะเวลาประมาณ 29.5
วัน เป็นดวงจันทร์เป็นดาวดวงเดียวที่มนุษย์เดินทางไปสำรวจ
โดยการนำตัวอย่างดินและหินจากดวงจันทร์กลับมาตรวจวิเคราะห์บนโลก
ดาวอังคาร มีขนาดเล็กกว่าโลก
เส้นผ่านศูนย์กลางราว 6,794
กิโลเมตร พื้นผิวดาวอังคารมีปรากฏการณ์เมฆและพายุฝุ่นเสมอ
เป็นที่น่าสนใจในการศึกษาของนักวิทยาศาสตร์เป็นอย่างมาก
เนื่องจากมีลักษณะและองค์ประกอบ ที่ใกล้เคียงกับโลก เช่น
มีระยะเวลาในการหมุนรอบตัวเอง 1 วัน เท่ากับ 24.6
ชั่วโมง และระยะเวลาใน 1 ปี เมื่อเทียบกับโลกเท่ากับ 1.9
มีการเอียงของแกน 25 องศา ดาวอังคารมีดวงจันทร์เป็นบริวาร 2
ดวง และมีอุณหภูมิพื้นผิวค่อนข้างเย็น อยู่ที่ประมาณ -65
องศาเซลเซียส
ปัจจุบันนักวิทยาศาสตร์อยู่ระหว่างการศึกษาดาวอังคารอย่างละเอียด
โดยการส่งยานคิวริออสซิตี้ขึ้นไปศึกษาสภาพบนดาว
เพื่อวิเคราะห์ความเป็นไปได้ในการเป็นโลกใบที่สอง
และนั่นอาจเป็นข่าวดีสำหรับมวลมนุษยชาติ
ดาวพฤหัสบดี (Jupiter)
ดาวพฤหัสบดี
เป็นดาวเคราะห์ที่ใหญ่ที่สุดในระบบสุริยะจักรวาล
มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางยาวกว่าโลก 11 เท่า หมุนรอบตัวเอง 1
รอบใช้เวลา 9.8 ชั่วโมง
ซึ่งเร็วที่สุดในบรรดาดาวเคราะห์ทั้งหลาย และโคจรรอบดวงอาทิตย์ 1
รอบ ใช้เวลา 12 ปี นักดาราศาสตร์อธิบายว่า
ดาวพฤหัสเป็นกลุ่มก้อนก๊าซหรือของเหลวขนาดใหญ่ ที่ไม่มีส่วนที่เป็นของแข็งเหมือนโลก
และเป็นดาวเคราะห์ที่มีดาวบริวารมากถึง 67 ดวง
ดาวเสาร์ (Saturn)
ดาวเสาร์
เป็นดาวเคราะห์ที่เราสามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า เป็นดาวที่ประกอบไปด้วยก๊าซและ
ของเหลวสีค่อนข้างเหลือง หมุนรอบตัวเอง 1 รอบใช้เวลา 10.2
ชั่วโมง และโคจรรอบดวงอาทิตย์ 1 รอบใช้เวลา 29 ปี
ลักษณะเด่นของดาวเสาร์ คือ มีวงแหวนล้อมรอบ ซึ่งวงแหวนดังกล่าวเป็นอนุภาคเล็ก ๆ
หลายชนิดรวมกัน และดาวเสาร์มีวงแหวนถึง 3 ชั้น นอกจากนี้
ดาวเสาร์ยังมีดาวบริวาร 62 ดวง หนึ่งในนั้นคือดวงจันทร์ไททัน (Titan)
ซึ่งถือว่าเป็นดวงจันทร์ที่แปลกที่สุดในระบบสุริยะจักรวาล
เพราะเป็นดวงจันทร์ดวงเดียวในระบบสุริยะที่มีบรรยากาศ
และนักวิทยาศาสตร์วิเคราะห์ดวงจันทร์ดวงนี้มีสภาพเหมือนโลกยุคแรก ๆ
หากดวงอาทิตย์ร้อนขึ้นเมื่อไร น้ำแข็งบนดวงจันทร์จะละลาย และมีวิวัฒนาการคล้ายกันกับโลกเลยทีเดียว
ดาวยูเรนัส
หรือดาวมฤตยู เป็นดาวเคราะห์แก๊สขนาดใหญ่ มีดวงจันทร์บริวาร 27
ดวง หมุนรอบตัวเอง 1 รอบ ใช้เวลา 16.8
ชั่วโมง และโคจรรอบดวงอาทิตย์ 1 รอบ ใช้เวลานานถึง 84 ปี
ดาวยูเรนัสประกอบด้วยก๊าซและของเหลว เช่นเดียวกับดาวพฤหัสบดี และดาวเสาร์ทั้งนี้
ดาวยูเรนัสเป็นดาวเคราะห์ใหญ่เป็น ที่ 3 รองจากดาวพฤหัสบดี และดาวเสาร์
โคจรห่างจากดวงอาทิตย์โดยเฉลี่ย 2,871 ล้านกิโลเมตร
ทำให้มองเห็นด้วยตาเปล่าได้ยาก แต่เมื่อใช้กล้องโทรทัศน์ และรู้ตำแหน่งแน่ชัด ก็จะสามารถเห็นได้ในคืนฟ้าใสกระจ่าง
ดาวเนปจูน (Neptune)
ดาวเนปจูน หรือดาวเกตุ
เป็นดาวเคราะห์ขนาดใหญ่เป็นที่ 4 ในระบบสุริยะ มีเส้นผ่านศูนย์กลางราว 50,000
กิโลเมตร จุโลกได้ถึง 60 ดวง ระยะห่างเฉลี่ยจากดวงอาทิตย์ 4,504
ล้านกิโลเมตร
หมุนรอบตัวเองครบรอบในเวลา 16 ชั่วโมงอยู่ไกลจากโลกมากจนไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า
ต้องใช้กล้องโทรทรรศน์ขนาดใหญ่เท่านั้นจึงจะเห็นเป็นจุดริบหรี่ได้
สิ่งที่มนุษย์รู้เกี่ยวกับดาวเนปจูน ในทุกวันนี้ จึงเป็นข้อมูลที่ได้มาจากยาน
วอยเอเจอร์ 2 ซึ่งโคจรสำรวจดาวเนปจูน ระยะใกล้ เมื่อ พ.ศ. 2532
กาแล็กซีประเภทต่างๆ
กาแล็กซีมีรูปทรงแตกต่างกันหลายประเภท
ซึ่งสามารถแบ่งเป็นประเภทใหญ่ๆ ได้ 2 ประเภทคือ กาแล็กซีปกติ (Regular
galaxy) ที่มีสัณฐานรูปทรงชัดเจนสามารถแบ่งได้ตามแผนภาพส้อมเสียง
(Hubble Turning Fork) ตามที่แสดงในภาพที่ 1 และกาแล็กซีไม่มีรูปแบบ (Irregular Galaxy)
ที่ไม่มีรูปทรงสัณฐานชัดเลย เช่น เมฆแมกเจลแลนใหญ่ เมฆแมกเจลแลนเล็ก
ซึ่งเป็นกาแล็กซีบริวารของทางช้างเผือก
ในต้นคริสศตวรรษที่ 20
เอ็ดวิน ฮับเบิล (Edwin Hubble) นักดาราศาสตร์ชาวอเมริกันได้ทำการศึกษากาแล็กซีด้วยกล้องโทรทรรศน์ขนาดใหญ่
และจำแนกประเภทของกาแล็กซีตามรูปทรงสัณฐานออกเป็น 4
ประเภท ได้แก่กาแล็กซีรี (Elliptical Galaxy) มีสัณฐานเป็นทรงรี
แบ่งย่อยได้ 8 แบบ ตั้งแต่ E0 - E7
โดย E0 มีความรีน้อยที่สุด และ E7
มีความรีมากที่สุด
ภาพที่
2 กาแล็กซีกังหันประกอบด้วยดาวที่มีอุณหภูมิสูง
(สีน้ำเงิน)
นักดาราศาสตร์พบว่า
กาแล็กซีส่วนใหญ่ที่พบร้อยละ 77 เป็นกาแล็กซีแบบกังหันและกังหันบาร์
มีขนาดใหญ่ องค์ประกอบหลักเป็นประชากรดาวประเภทหนึ่ง (Population I มีธาตุหนักเกิดจากซูเปอร์โนวา
สว่างมาก อุณหภูมิสูง) ซึ่งมีอายุน้อย
กาแล็กซีจึงมีสีน้ำเงินดังภาพที่ 2
กาแล็กซีร้อยละ 20 เป็นกาแล็กซีรี มีขนาดใหญ่
องค์ประกอบหลักเป็นประชากรดาวประเภทสอง (Population II ไม่มีธาตุหนัก
สว่างน้อย อุณหภูมิต่ำ) ซึ่งมีอายุมากและไม่มีดาวเกิดใหม่
กาแล็กซีจึงมีแดงดังภาพที่ 3
ส่วนที่เหลือร้อยละ 3 เป็นกาแล็กซีไม่มีรูปแบบ
มีขนาดเล็กและกำลังส่องสว่างน้อย มีประชากรดาวประเภทหนึ่ง
ภาพที่ 4 กาแล็กซีNGC 4038 กำลังยุบรวมกับ NGC 4
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น