วันจันทร์ที่ 14 มีนาคม พ.ศ. 2559

กลุ่มดาวคันชั่ง หรือ กลุ่มดาวตุล


กลุ่มดาวคันชั่ง หรือ กลุ่มดาวตุล (♎) 








        เป็นกลุ่มดาวหนึ่งในกลุ่มดาวจักรราศี แต่ไม่เด่นชัดเนื่องจากไม่มีดาวฤกษ์สว่าง กลุ่มดาวคันชั่งอยู่ระหว่างกลุ่มดาวหญิงสาวทางทิศตะวันตก กับกลุ่มดาวแมงป่องทางทิศตะวันออก ในอดีตเคยเป็นส่วนก้ามของแมงป่อง ดังหลักฐานที่ปรากฏหลงเหลือในชื่อดาว

กลุ่มดาวแมงป่อง หรือ กลุ่มดาวพิจิก


กลุ่มดาวแมงป่อง หรือ กลุ่มดาวพิจิก (♏)




         เป็นกลุ่มดาวหนึ่งในกลุ่มดาวจักรราศี อยู่ระหว่างกลุ่มดาวตาชั่งทางทิศตะวันตกกับกลุ่มดาวคนยิงธนูทางทิศตะวันออก เป็นกลุ่มดาวที่มีขนาดใหญ่ อยู่ในซีกฟ้าใต้ ใกล้กับศูนย์กลางทางช้างเผือก มีดาวที่สำคัญคือดาวปาริชาต ซึ่งมีสีส้มแดง ในขณะที่ดาวดวงอื่นเรียงเป็นแถวยาวโค้งคล้ายกับหางแมงป่อง

กลุ่มดาวคนยิงธนู หรือ กลุ่มดาวธนู


กลุ่มดาวคนยิงธนู หรือ กลุ่มดาวธนู (♐) 





         เป็นกลุ่มดาวหนึ่งในกลุ่มดาวจักรราศี วาดเป็นรูปคนครึ่งม้ากำลังน้าวคันธนู กลุ่มดาวคนยิงธนูอยู่ระหว่างกลุ่มดาวแมงป่องทางทิศตะวันตก กับกลุ่มดาวแพะทะเลทางทิศตะวันออก ดาวสว่างในกลุ่มดาวนี้เรียงกันเป็นรูปร่างคล้ายกาน้ำชา

กระจุกดาวลูกไก่ หรือ กระจุกดาวไพลยาดีส หรือวัตถุเมสสิเยร์ M45 หรือ ดาวพี่น้องทั้งเจ็ด


กระจุกดาวลูกไก่ หรือ กระจุกดาวไพลยาดีส  หรือวัตถุเมสสิเยร์ M45 หรือ ดาวพี่น้องทั้งเจ็ด 








       เป็นกระจุกดาวเปิดในกลุ่มดาววัว ประกอบด้วยดาวฤกษ์ระดับ B ที่มีประวัติการสังเกตมาตั้งแต่สมัยกลาง นับเป็นหนึ่งในกระจุกดาวที่อยู่ใกล้โลกมากที่สุด และอาจเป็นกระจุกดาวที่มีชื่อเสียงมากที่สุดและสามารถมองเห็นได้อย่างชัดเจนด้วยตาเปล่า

กลุ่มดาวค้างคาวหรือกลุ่มดาวหญิงนั่งเก้าอี้


กลุ่มดาวค้างคาวหรือกลุ่มดาวหญิงนั่งเก้าอี้ 







        กลุ่มดาวค้างคาวเป็นกลุ่มดาวที่สะดุดตา หาง่ายอยู่ทางทิศเหนือตรงกันข้ามกับ กลุ่มดาวจระเข้ ฉะนั้นเมื่อเห็นกลุ่มดาวจระเข้ จะไม่เห็นกลุ่มดาวค้างคาว และเมื่อ เห็นกลุ่มดาวค้างคาวก็ไม่เห็นกลุ่มดาวจระเข้ กลุ่มดาวค้างคาวหรือกลุ่มดาวผู้หญิง นั่งเก้าอี้นี้ จะอยู่ตามแนวเส้นดึ่งกลางท้องฟ้าเมื่อเวลา 3 ทุ่มในวันที่ 20 พฤศจิกายน

กลุ่มดาวหมีใหญ่


กลุ่มดาวหมีใหญ่ 



             เป็นกลุ่มดาวที่มีตำนานเกี่ยวข้องกับคัลลิสโตในเทพนิยายกรีก ดาวฤกษ์ที่สว่างที่สุด 7 ดวง ทำให้เกิดดาวเรียงเด่นซึ่งคนไทยเรียกว่า ดาวจระเข้ คนลาว เรียกว่า ดาวหัวช้าง ในสหราชอาณาจักรเรียกว่า คันไถ ในจีนและอเมริกาเหนือ เรียกว่า กระบวยใหญ่

บิกแบง


ทฤษฎีบิกแบง

เป็นทฤษฎีทางดาราศาสตร์ที่กล่าวถึงประวัติศาสตร์ความเป็นมาของจักรวาล ปัจจุบันเป็นทฤษฎีที่เป็นที่เชื่อถือและยอมรับมากที่สุด ทฤษฎีบิกแบงเกิดขึ้นจากการสังเกตของนักดาราศาสตร์ที่ว่า ขณะนี้จักรวาลกำลังขยายตัว ดวงดาวต่าง ๆ บนท้องฟ้ากำลังวิ่งห่างออกจากกันทุกที เมื่อย้อนกลับไปสู่อดีต ดวงดาวต่างๆ จะอยู่ใกล้กันมากกว่านี้ และเมื่อนักดาราศาสตร์คำนวณอัตราความเร็วของการขยายตัวทำให้ทราบถึงอายุของจักรวาลและการคลี่คลายตัวของจักรวาล รวมทั้งสร้างทฤษฎีการกำเนิดจักรวาลขึ้นอีกด้วย ตามทฤษฎีนี้ จักรวาลกำเนิดขึ้นเมื่อประมาณ ๑๕,๐๐๐ ล้านปีที่แล้ว ก่อนการเกิดของจักรวาล ไม่มีมวลสาร ช่องว่าง หรือกาลเวลา จักรวาลเป็นเพียงจุดที่เล็กยิ่งกว่าอะตอมเท่านั้น และด้วยเหตุใดยังไม่ปรากฏแน่ชัด จักรวาลที่เล็กที่สุดนี้ได้ระเบิดออกอย่างรุนแรงและรวดเร็วในเวลาเพียงเศษเสี้ยววินาที แรงระเบิดก่อให้เกิดหมอกธาตุซึ่งแสงไม่สามารถทะลุผ่านได้ (Plasma period) ต่อมาจักรวาลที่กำลังขยายตัวเริ่มเย็นลง หมอกธาตุเริ่มรวมตัวกันเป็นอะตอม จักรวาลเริ่มโปร่งแสง ในทางทฤษฎีแล้วพื้นที่บางแห่งจะมีมวลหนาแน่นกว่า ร้อนกว่า และเปล่งแสงออกมามากกว่า ซึ่งต่อมาพื้นที่เหล่านี้ได้ก่อตัวเป็นกลุ่มหมอกควันอันใหญ่โตมโหฬาร และภายใต้กฎของแรงโน้มถ่วง กลุ่มหมอกควันอันมหึมานี้ได้ค่อยๆ แตกออก จนเป็นโครงสร้างของ “กาแลกซี” (Galaxy) ดวงดาวต่าง ๆ ได้ก่อตัวขึ้นในกาแลกซี และจักรวาลขยายตัวออกอย่างต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน



ถ้าเอกภพกำลังขยายตัวก็แสดงว่าถ้าเราย้อนเวลากลับไปในอดีต เอกภพก็ต้องมีขนาดเล็กลงเรื่อยๆ ยิ่งย้อนเวลามากก็ยิ่งเล็กลง แล้วเมื่อเล็ก ลงอย่างที่สุดจะเกิดอะไรขึ้น เอกภพจะลดลงจนสลายไปหรือหวังว่าจะมีจุดหนึ่งที่เอกภพกำเนิด ไม่ว่าจะเป็นกรณีใดจะเห็นว่าเราจะต้องเกี่ยวข้องกับ การเริ่มของเอกภพทั้งนั้น ผู้แรกที่เริ่มศึกษาปัญหาเหล่านี้อย่างจริงจังคือนักฟิสิกส์ซึ่งเกิดที่รัสเซียชื่อ กามอฟ แต่ภายหลังอพยพไปอยู่อเมริกาในช่วง ปี 1948 ที่จริงกามอฟไม่ได้ตั้งใจที่จะคิดค้นเกี่ยวกับการเริ่มของเอกภพตั้งแต่ตอนแรก แต่ระหว่างที่เขากำลังคิดค้นเกี่ยวกับการเกิดของธาตุ เขาก็ได้ บรรลุถึงข้อสรุปว่า เอกภพจะต้องเกิดขึ้นด้วย BIG BANG


ตามทฤษฎีเอกภพของฟรีดมานน์ ซึ่งได้มาจากการประยุกต์ทฤษฎีสัมพัทธภาพจะบอกได้ว่า เอกภพมีจุดเริ่ม ซึ่งก็คือเงื่อนไขเบื้องต้นถึงทฤษฎี สัมพัทธภาพจะบอกไม่ได้ว่าเงื่อนไขข้างต้นนี้มาจากไหน แต่มันก็บอกให้เรารู้ว่า เอกภพเริ่มกำเนิดโดยมีเงื่อนไขเบื้องต้น แต่อย่างไรก็ตามทฤษฎีนี้ไม่ได้ บอกเราว่าเอกภพตอนเริ่มกำเนิดนั้นร้อนหรือเย็น แล้วทำไมกามอฟถึงคิดว่าเอกภพกำเนิดด้วยความร้อนสูง แต่เพื่อที่จะเข้าใจตรงนี้ก็ลองมาคิดกลับดู ว่าทำไมเอกภพที่เย็นจึงเป็นไปไม่ได้เช่นกัน ถึงแม้โลกจะมีธาตุมากมายหลายชนิด เมื่อดูทั้งเอกภพจะเห็นว่าเกือบทั้งหมดเป็นธาตุไฮโดรเจน เพราะว่า ไฮโดรเจนประกอบขึ้นจากโปรตอนและอิเลคตรอน เราก็จะบอกได้ว่าตอนที่เอกภพกำเนิดและมีขนาดเล็กมาก

















กลุ่มดาวนายพราน


กลุ่มดาวนายพราน


            เป็นกลุ่มดาวที่มีชื่อเสียง คนไทยเรียกว่า ดาวเต่า การที่มีดาวฤกษ์สว่างหลายดวงเป็นสมาชิก และมีตำแหน่งอยู่บริเวณเส้นศูนย์สูตรฟ้า ทำให้มองเห็นได้ทั่วโลก และอาจเป็นที่รู้จักกว้างขวางที่สุดในบรรดากลุ่มดาวบนท้องฟ้า[1] ดาวสามดวงที่ประกอบกันเป็น "เข็มขัดของนายพราน" เป็นดาวที่มีความสว่างปานกลางแต่ก็สามารถสังเกตเห็นได้ง่าย

กลุ่มดาวแกะ (Aries or Ram)



กลุ่มดาวแกะ (Aries or Ram)
       





       กลุ่มดาวกลุ่มแรกใน 12 ราศี คือ กลุ่มดาวแกะตัวผู้ เรียก ราศีเมษ ดาวกลุ่มนี้สังเกตได้ง่าย มีดาวสว่างสุกปลั่งอยู่ตรงหัวแกะ 3 ดวง มีรูปคล้ายสามเหลี่ยมมุมป้าน
กลุ่มดาวราศีเมษหรือกลุ่มดาวแกะ จะเห็นอยู่ตรงศีรษะเมื่อเวลา 3 ทุ่ม ในวันที่ 10 ธันวาคมของทุกปี มีหลักการสังเกตง่าย ๆ สำหรับหาดาวกลุ่มนี้ คือ ดูจากกลุ่มดาวลูกไก่ เมื่อเห็นกลุ่มดาวลูกไก่แล้วมองไปทางทิศตะวันตก ใกล้ ๆ กลุ่มดาวลูกไก่จะเห็นกลุ่มดาวสามเหลี่ยมมุมป้าน ซึ่งเป็นหัวแกะได้ โดยง่าย และเมื่อมองไปทางทิศตะวันตกจะเห็นกลุ่มดาวม้า

กลุ่มดาว 12 ราศี (ZODIAC)


    กลุ่มดาว 12 ราศี (ZODIAC)
       





           การหมุนรอบตัวเองของโลก ทำให้เกิดกลางวัน กลางคืน การโคจรของโลก รอบดวงอาทิตย์ ทำให้เวลาและฤดูกาลผ่านไป โลกโคจรรอบดวงอาทิตย์หนึ่งรอบ กินเวลา 1 ปี ขณะที่โลกโคจรรอบดวงอาทิตย์ จากทิศตะวันตกไปทาง ทิศตะวันออกนั้น เมื่อเราสังเกตดูการเคลื่อนที่ของดวงอาทิตย์ เราจะเห็น ดวงอาทิตย์เคลื่อนที่ไปตามกลุ่มดาวกลุ่มต่าง ๆ กลางท้องฟ้า เส้นทางที่ ดวงอาทิตย์ปรากฏโคจรไปบนท้องฟ้าผ่านกลุ่มดาวต่าง ๆ ในรอบปีหนึ่งนั้น เรียกว่า เส้นอี่คลิพติค (Ecliptic) เส้นนี้พาดจากขอบฟ้าทิศตะวันออก ผ่านกลาง ฟ้าเหนือ ศีรษะไป ทางขอบฟ้าทิศตะวันตก บรรดาดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ และ ดวงนพเคราะห์ ต่างก็เคลื่อนที่ในแนวแถบเส้น Ecliptic

กาแล็กซีดุมล้อ




นอกจากนั้นยังมีกาแล็กซีกังหันขนาดใหญ่อีกแห่งหนึ่ง คือ กาแล็กซีดุมล้อ (M33 Pinwheel Galaxy) อยู่ห่างจากโลกประมาณ 3 ล้านปีแสง โชติมาตรปรากฎ 5.7 สามารถใช้กล้องโทรทรรศน์ขนาดเล็กส่องดูได้ในตำแหน่งของกลุ่มดาวสามเหลี่ยม (Triangulum) หากสังเกตดูในภาพที่ 3 จะเห็นว่า แขนกังหันของกาแล็กซีมีทั้งเนบิวลาสว่างสีแดง เนบิวลาสะท้อนแสงสีฟ้า ซึ่งล้วนเป็นแหล่งกำเนิดของดาวฤกษ์ทั้งสิ้น นักดาราศาสตร์จึงตั้งข้อสังเกตว่า กาแล็กซีรูปกังหันเปรียบเสมือนโรงงานผลิตดาว เป็นกาแล็กซีที่มีอายุน้อยและเต็มไปด้วยประชากรดาวเกิดใหม่

กาแล็กซีแอนโดรมีดา

  


กาแล็กซีแอนโดรมีดา (M31 Andromeda Galaxy)เป็นกาแล็กซีเพื่อนบ้านซึ่งมีขนาดใหญ่กว่ากาแล็กซีทางช้างเผือกเล็กน้อย ซึ่งอยู่ห่างออกไป 2.9 ล้านปีแสง สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่าในตำแหน่งของกลุ่มดาวแอนโดรมีดา โดยมีโชติมาตรปรากฎ 3.4 M31 เป็นกาแล็กซีกังหันขนาดใหญ่ซึ่งมีกาแล็กซีบริวารคือ M32 และ M110 ดังที่แสดงในภาพที่ 3 นักดาราศาสตร์พบกว่ากาแล็กซีแอนโดรมีดาและกาแล็กซีทางช้างเผือกกำลังเคลื่อนที่เข้าหากัน และจะปะทะกันในอีกประมาณ 3 - 5 พันล้านปีข้างหน้า

วันอังคารที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2559

เอ็นจีซี 604


       เอ็นจีซี 604



          เอ็นจีซี 604 (NGC 604) เป็นเนบิวลาที่อยู่ภายในแขนของดาราจักรเอ็ม 33 (M33) ในกลุ่มดาวสามเหลี่ยม อยู่ห่างจากโลก 2.7 ล้านปีแสง เนบิวลานี้เป็นบริเวณก่อตัวของดาวฤกษ์ดวงใหม่

วันจันทร์ที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2559

เนบิวลานาฬิกาทราย


     
           
           เนบิวลานาฬิกาทราย






            เนบิวลานาฬิกาทราย (MyCn18) เป็นเนบิวลาดาวเคราะห์อายุน้อย อยู่ห่างจากโลกประมาณ 8,000 ปีแสง ภาพนี้ถ่ายด้วยกล้องถ่ายภาพที่ติดตั้งบนกล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิลขององค์การนาซา

เนบิวลาดอกกุหลาบ




เนบิวลาดอกกุหลาบ เป็นเนบิวลาเปล่งแสง (Emission Nebula) ที่อยู่ห่างจากโลกเราออกไปถึง 2,600 ปีแสง และมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 55 ปีแสง โดยมีขนาดปรากฏบนท้องฟ้าใหญ่กว่าดวงจันทร์ถึงสองเท่า ภายใเนบิวลามีดาวฤกษ์เกิดใหม่มากมาย ดาวฤกษ์เหล่านี้มีอายุประมาณ 4 ล้านปี และจากการคำนวณของนักดาราศาสตร์พบว่าอาจจะมีดาวฤกษ์ที่มีมวลเท่าดวงอาทิตย์ประมาณ 11,000 ดวง ที่สามารถเกิดขึ้นได้ในเนบิวลาดอกกุหลาบ